top of page
10 วิธีการดูแลผู้สูงอายุในบ้านช่วงโควิด-19
ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้สูงอายุถือเป็นถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19มากกว่าช่วงวัยอื่นๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย สุขภาพที่ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคมะเร็ง เป็นต้น แนวทางการป้องกันที่ดีที่สุดคือการอยู่บ้าน ไม่ไปพื้นที่ในกลุ่มเสี่ยง และการอยู่บ้านในช่วงโควิด-19
คนในครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุในช่วงกักตัวเป็นอย่างมาก วันนี้ได้รวบรวม 10 วิธีการดูแลผู้สูงอายุในบ้านช่วงโควิด-19มาฝากเพื่อนำไปดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจแข็งแรงเพื่อฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน
1. หลีกเลี่ยงการไปอยู่ที่แออัด
ปัจจัยที่ทำให้เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว คือ การไปอยู่ในที่ที่แออัดมีคนหนาแน่น เพราะท่านไม่รู้ว่าใครเป็นพาหะของเชื้อไวรัสโควิด-19บ้าง ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่ควรพาผู้สูงอายุออกจากบ้าน แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นที่ต้องออกจากบ้านจริงๆ ก็ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตรขึ้นไป เพื่อลดความสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด-19มากกว่าวัยอื่นคือภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง สุขภาพไม่แข็งแรง และมีโรคประจำตัว การดูแลผู้สูงอายุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทั้งการเลือกรับประทานอาหาร ก็ควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้าผู้สูงอายุคนไหนที่จำเป็นจะต้องทานยา ก็ควรทานให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
3. ปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม
โดยปกติแล้วการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดจากการได้รับสารคัดหลั่งจากการไอการจาม น้ำมูกต่างๆ ที่สามารถฟุ้งกระจายตามอากาศ และเมื่อท่านต้องอยู่บ้านกับผู้สูงอายุ หากมีการไอหรือจาม ควรปิดปากทุกครั้งเพื่อไม่ให้สารคัดหลั่งจากตัวเราแพร่กระจายไปสู่ผู้สูงอายุได้ และท่านควรแนะนำให้ผู้สูงอายุใช้หน้ากากปิดจมูกทุกครั้งเมื่อมีลูกหลานมาอยู่ด้วยในบริเวณใกล้ๆ
4. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่มีการออกนอกบ้าน
ถ้าหากท่านมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกไปข้างนอกหรือพาผู้สูงอายุออกไปข้างนอก วิธีป้องกันคือควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยสวมใส่อย่างถูกวิธีและเลือกหน้ากากที่มีคุณภาพสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้
5. ไม่เอามือสัมผัสใบหน้า
เพราะการเอามือสัมผัสที่ใบหน้าโดยที่ไม่ล้างทำความสะอาดมือก่อน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ติดเชื้อไวรัส
โควิด-19 จากการที่เชื้อไวรัสผ่านเข้าไปในร่างกายจากทางเดินหายใจ
6. ทำความสะอาดมือบ่อยๆ
ถึงแม้ว่าท่านจะอยู่บ้านเป็นหลัก ไม่ได้ออกไปที่ใด การล้างมือบ่อยๆก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มากขึ้น ยิ่งถ้ามีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านด้วยนั้นเรายิ่งควรระมัดระวังไม่ให้เชื้อไวรัส
โควิด-19 แพร่กระจายไปยังผู้สูงอายุ
7. ทำความสะอาดของใช้ต่างๆภายในบ้าน
แหล่งสะสมของเชื้อไวรัสโควิด-19 มักจะอยู่ตามของใช้ต่างๆ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม โลหะอื่นๆ พลาสติก กระดาษ ฯลฯ โดยอายุของเชื้อสามารถอยู่ได้นานสูงสุด 5 วัน ดังนั้นเราควรทำความสะอาดของใช้ต่างๆในบ้านให้สะอาดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสสิ่งของต่างๆในบ้านของผู้สูงอายุ
8. ผ่อนคลายความเครียด
โดยปกติแล้วผู้สูงอายุจะมีภาวะความเครียดมากกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากภาวะความแข็งแรงของร่างกายที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่างๆได้คล่องตัวเหมือนวัยรุ่น ยิ่งสถานการณ์ที่ทุกที่ทั่วโลกกำลังเผชิญโรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมต่างๆ พบปะสังสรรค์ได้ ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความเครียดมากขึ้น ทางแก้ไขคือช่วยหากิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ในครอบครัว เพื่อลดความเครียดให้กับผู้สูงอายุในช่วงที่ต้องอยู่บ้าน
9. ระวังเรื่องการรับข้อมูลจากสื่อ
แน่นอนว่าการอยู่บ้านนานๆนั้น กิจกรรมที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำคือการเปิดทีวี ดูข่าว
ติดตามสถานการณ์บ้านเมืองต่างๆ ข่าวเหล่านั้นทั้งในทางโทรทัศน์ สื่อโซเชียลมีเดียต่างๆก็จะทำให้เกิดภาวะความเครียดกับทางผู้สูงอายุได้ โดยพยายามหลีกเลี่ยงข่าวเท็จ ข่าวปลอม หรือข่าวที่ตึงเครียดให้ห่างจากผู้สูงอายุ
10. การดูแลในช่วงที่ป่วย
ถ้าหากผู้สูงอายุในบ้านของเรามีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย ขั้นตอนแรกที่ควรดูแลคือ แยกผู้สูงอายุออกจากผู้อื่น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อน และรีบพาท่านไปพบแพทย์ หรือโทรสายด่วนควบคุมโรค รวมทั้งเฝ้าระวังการหกล้มของผู้สูงอายุ
ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้เรารู้สึกอุ่นใจได้ทุกเมื่อ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะมีช่วงเวลาอยู่ที่บ้านเพียงลำพัง สมาชิกในครอบครัวก็สามารถอุ่นใจได้มากขึ้นด้วย
DoCare Protect: Model S เทคโนโลยีเพื่อการดูแลผู้สูงอายุภายในบ้านเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ ซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนและไม่ต้องการพกอุปกรณ์ติดตัวใดๆตลอดเวลา โดยระบบจะส่งสัญญาณไปในยังแอพพลิเคชันในมือถือของลูกๆหลานๆและเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ตั้งค่าไว้ทันทีหากมีการกดปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ในส่วนต่างๆของบ้าน และหลังจากนั้นจะมีรถพยาบาลมารับถึงหน้าบ้าน เพื่อนำส่งไปยังโรงพยาบาลที่ทางครอบครัวได้เลือกร่วมกันไว้แล้ว
ชุดอุปกรณ์ IoT Sensor เพื่อติดตามกิจกรรมและขอความช่วยเหลือ ประกอบไปด้วย
1.ตัวรับสัญญาณ (Base Unit)
ตัวรับสัญญาณจากอุปกรณ์เซนเซอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพต่าง ๆ ส่งสัญญาณเชื่อมต่อกับ Cloud Platform ผ่าน 3G หรือ LTE
2.ปุ่มกดขอความช่วยเหลือ (Help Tigger)
อุปกรณ์ที่มีปุ่มสีแดงเพื่อให้ผู้สูงอายุกดเมื่อเกิดเหตุ โดยสัญญาณขอความช่วยเหลือ จะถูกส่งไปยัง Base Unit เพื่อทำการโทรออกไปยัง Care Center ซึ่งสามารถใช้สวมแบบสร้อยคอ หรือใส่เป็นสายรัดข้อมือ
3.เซนเซอร์จับการเปิด-ปิด ของประตู (Door Sensor)
เซนเซอร์ชนิดนี้ใช้ถูกนำไปติดกับประตู เพื่อติดตามการเปิดปิด สามารถประยุกต์ใช้ติดกับกล่องยา เพื่อเตือนผู้สูงอายุทานยาตามที่แพทย์และเภสัชกรกำหนด
4.เซนเซอร์จับความเคลื่อนไหว (Activity Detector)
เซนเซอร์ชนิดนี้สามารถนำไปติดตั้งในห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น หรือห้องอื่น ๆ เพื่อรายงานความเคลื่อนไหวในแต่ละห้องด้วยเซนเซอร์จับความเคลื่อนไหวชนิด Passive Infrared ซึ่งไม่มีการจับภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวใดๆ ทำให้ผู้ที่อยู่ในห้องไม่มีความรู้สึกถูกรุกล้ำความเป็นส่วนตัว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
bottom of page